วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
Raspberry Pi คอมพิวเตอร์บอร์ดเดียวที่เป็นอุปกรณ์การเรียนรู้สำหรับนักเรียนนักศึกษา
http://life.voicetv.co.th/lifedaily/74360.html
Life สร้างโปรแกรมเมอร์ตัวน้อยด้วย Raspberry Pi
รายการ LIFE ประจำวันที่ 3 กรกฎาคม 2556
ทำความรู้จักและเรียนรู้วิธีการใช้งานขั้นพื้นฐานของ Raspberry Pi คอมพิวเตอร์บอร์ดเดียวที่เป็นอุปกรณ์การเรียนรู้สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่สนใจคอมพิวเตอร์ ด้วยราคาที่ไม่แพง
ทุกวันนี้เราติดการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกันหนักข้อมากขึ้น จนต้องมีสิ่งประดิษฐ์และคอร์สบำบัดให้ใช้ดีท็อกซ์ตัวเองออกจากโลกดิจิทัล
ใครไม่ชอบดูละครเหงาๆ อยู่หน้าจอโทรทัศน์คนเดียว แนะนำให้ลองใช้แอปพลิเคชัน Chatterbox ที่สามารรถ แชร์ แชต และช็อป พร้อมๆ กับการดูละครเรื่องที่โปรดปราน
Appaholic สำรวจแอปพลิเคชันเด่นๆ สำหรับไอโฟนและไอแพด บนร้านค้า App Store ของ Apple ของผู้ใช้งานอุปกรณ์ iOS ในเมืองไทย
3 กรกฎาคม 2556 เวลา 18:25 น.
View 910
Keyword: ดีท็อกซ์ , ios , life , appaholic , ดูละคร , โลกดิจิทัล , raspberry pi , คอมพิวเตอร์บอร์ดเดียว , chatterbox , แอปฯ เด่น
อ้างอิงจาก: http://www.ayarafun.com/2013/07/raspberry-pi-thai-in-voicetv/
วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
สำหรับเขียนแนวคิดและประสบการณ์ของเพื่อนๆชาวอิเล็กทรอนิกส์ (บอกเล่าประสบการณ์ได้ครับสำหรับหัวข้อนี้ เพื่อจะนำไปเป็นตัวอย่างในการเรียนการสอน)
http://raspberry-pi-th.blogspot.com/
http://www.raspberrypithai.com/
Raspberry Pi มันคือคอมพิวเตอร์จิ๋ว แล้วประโยชน์ใช้งานจริงคืออะไรบ้าง
Raspberry Pi คืออะไร
Raspberry Pi ก็คือคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋ว มีแต่สิ่งที่จำเป็นเพื่อการประมวลผล ราคาไม่แพงเกินไป
บอร์ดใช้ชิป SoC ของ Broadcom BCM2835 ซึ่งบรรจุ ARM1176JZFS พร้อมทั้งหน่วยประมวลผลเลขทศนิยม (floating point) ทำงานที่ความถี่สัญญาณนาฬิกา 700Mhz DRAM ขนาด 256 MiB ซึ่งถ้าเป็น microcontroller ทั่วๆ ไป อาจมี RAM น้อยกว่านี้ (เป็น SRAM เพราะไม่มี MMU) งานบางอย่างอาจต้องใช้หน่วยความจำเยอะ เช่น งานประมวลผลภาพ Raspberry Pi จึงมีความเหมาะสม
อันที่จริง ก็มีพวก evaluation board อยู่มากมายเหมือนกัน แต่ราคาแพงมาก โดยที่ Raspberry Pi อาจมองว่ามันดูคล้าย tablet หรือ netbook ที่ไม่มีจอ ไม่มีแบตเตอรี่ ไม่มีคีย์บอร์ดหรือจอสัมผัส ก็ได้ ถ้าอยากได้ต้องหามาต่อเอง และถ้าต่อ Raspberry Pi กับ Monitor และ keyboard ก็สามารถใช้มันได้พอๆ กับ PC เหมือนกัน นอกจากนี้ยังสามารถต่ออุปกรณ์อื่นๆ ตามใช้ชอบได้เหมือนกัน และยังมี GPIO ที่รับส่งข้อมูลได้สารพัดนึกเหมือนกับพวก Microcontroller จึงอาจไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมอย่างอื่นได้ เช่น ต่อ relay
ลิงค์: http://thai-learning.org/tutorials/raspberry-pi/raspberry-pi-tutorial-for-thai-beginner.html
เปรียบเทียบระหว่าง Beaglebone blak และ Raspberry PI ฟันธงกันทีละหัวข้อ
ตอนนี้ Beagle bone community ได้ออกบอร์ดใหม่ที่ชื่อว่า Beagle bone black ในราคา 45$ สามารถติดตามข้อมูลได้ที่ www.beaglebone.org และแน่นอน เมื่อออกมาแล้วย่อมมีการเปรียบเทียบกับเจ้าตลาด Development board ราคาถูกอย่่าง Raspberry PI เราไปดูกันเลยว่าคุณสมบัติของทั้งสองบอร์ดแตกต่างกันอย่างไร
อ้างอิงจาก: http://www.deaware.com/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-beaglebone-blak-%E0%B9%81/
วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วิธีการสร้างappinventor 2
1.1.2 ส่วนการเขียนโค้ด (App Inventor Blocks Editor)
หลังจากที่ทำการเลือกจัดวางคอมโพเนนท์ที่จะใช้สำหรับโปรเจคครบแล้ว ผู้ใช้จะสามารถเขียนโค้ดคำสั่งสำหรับแอพพลิเคชันได้ในส่วนการเขียนโค้ด (App Inventor Blocks Editor) สำหรับพื้นที่การทำงานในส่วนหน้าจอการเขียนโค้ดแสดงดังภาพ 7 ซึ่งจะประกอบไปด้วยคำสั่งที่อยู่ในรูปของบล็อกรวบรวมไว้บริเวณด้านซ้ายของหน้าจอ ผู้ใช้สามารถเลือกคำสั่งที่ต้องการโดยการคลิกลากบล็อกคำสั่งมาวางไว้ในโปรเจคคือบริเวณที่เป็นพื้นที่วางตรงกลางหน้าจอ ตัวอย่างของบล็อกคำสั่งดังแสดงในภาพ 8 ซึ่งจะเป็นคำสั่งพื้นฐานที่ผู้ใช้จะนำมาใช้ในการสร้างแอพพลิเคชันขึ้นมา บล็อกเหล่านี้จะถูกแยกและจัดแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ตามลักษณะของคำสั่ง ตัวอย่างเช่น บล็อกข้อความที่ใช้ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อความที่เป็นสายอักขระ บล็อกทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ ตัวเลข หรือเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น App Inventor ยังสามารถสร้างกระบวนการทำงาน (procedure) และตัวแปร (variable) ได้โดยการเลือกใช้บล็อกในส่วนที่เกี่ยวกับการสร้างกระบวนการทำงานและเหตุการณ์ (event handler) ที่เกิดกับคอมโพเนนท์ โดยบล็อกที่เกี่ยวข้องกับคอมโพเนนท์จะถูกจัดเตรียมไว้ให้ตามคอมโพเนนท์ที่ผู้ใช้เลือกนำมาวางไว้ในโปรเจคและจัดเก็บรวมกันไว้ในแท็บ My Blocks แยกไว้ต่างหาก บล็อกที่เกี่ยวข้องกับคอมโพเนนท์เหล่านี้จะแบ่งออกได้เป็น 4 แบบตามประเภทของคำสั่ง คือ ประเภทการเรียกค่าคุณสมบัติจากคอมโพเนนท์ (property getter) ประเภทการกำหนดค่าคุณสมบัติให้กับคอมโพเนนท์ (property setter) ประเภทเหตุการณ์ (event handler) และประเภทการเรียกใช้กระบวนการทำงาน (method call)
ภาพ 8 ตัวอย่างของบล็อกคำสั่งที่ใช้แทนการเขียนโค้ด
1) การเรียกค่าคุณสมบัติจากคอมโพเนนท์ (property getter) บล็อกประเภทที่ใช้เรียกค่าคุณสมบัติจากคอมโพเนนท์จะมีลักษณะเป็นช่องต่ออยู่ทางด้านซ้ายดังภาพ 9 โดยการทำงานจะทำการอ่านค่าคุณสมบัติจากคอมโพเนนท์แล้วส่งค่านั้นกลับมาในรูปของข้อความ ตัวเลข หรือค่าทางตรรกศาสตร์ แต่ในบางคอมโพเนนท์อาจมีค่าที่มีรูปแบบที่ซับซ้อนมากกว่าเช่น ค่า GPS จากคอมโพเนนท์ตรวจจับตำแหน่ง (Location Sensor) เป็นต้น ซึ่งจะมีรูปแบบเฉพาะแตกต่างกันไป แต่ทั้งนี้การอ่านค่านั้นทำได้ง่ายมาก ถึงแม้จะเป็นการอ่านค่า GPS ซึ่งโดยปกติมีกระบวนการทำงานที่ซับซ้อน แต่ผู้ใช้สามารถอ่านค่า GPS ได้ผ่านคอมโพเนนท์ตรวจจับตำแหน่งเหมือนอ่านค่าข้อความจากกล่องข้อความ ด้วยกระบวนการนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ใช้จะไม่ต้องกังวลในเรื่องความซับซ้อนของการเข้าถึงค่าและข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการ
ภาพ 9 ตัวอย่างของบล็อกคำสั่งประเภทที่ใช้เรียกค่าคุณสมบัติจากคอมโพเนนท์ (property getter)
2) การกำหนดค่าคุณสมบัติให้กับคอมโพเนนท์ (property setter) บล็อกประเภทที่ใช้กำหนดค่าคุณสมบัติให้กับคอมโพเนนท์จะมีลักษณะเป็นช่องต่ออยู่ทางด้านขวาดังภาพ 10 โดยจะสามารถทำการกำหนดค่าหรือเปลี่ยนแปลงค่าคุณสมบัติให้กับคอมโพเนนท์ที่ต้องการด้วยค่าของบล็อกที่นำมาต่อเข้ากับช่องต่อที่อยู่ทางด้านขวา ช่องต่อนี้จะมีรูปร่างเป็นช่องรับซึ่งจะต่อเข้าได้พอดีกับบล็อกที่มีรูปร่างเหมือนบล็อกประเภทที่ใช้เรียกค่าคุณสมบัติจากคอมโพเนนท์ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้เลือกบล็อกที่จะนำมาต่อเข้าด้วยกันได้อย่างง่ายได้และลดข้อผิดพลาดในการเลือกต่อบล็อกที่ไม่ถูกต้อง
ภาพ 10 ตัวอย่างของบล็อกคำสั่งประเภทที่ใช้กำหนดค่าคุณสมบัติให้กับคอมโพเนนท์ (property setter)
3) เหตุการณ์ (event handler) บล็อกประเภทเหตุการณ์จะมีลักษณะเป็นช่องต่ออยู่ทางด้านล่างดังภาพ 11 ซึ่งบล็อกประเภทนี้จะทำงานเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นกับคอมโพเนนท์ เช่น การคลิกที่ปุ่ม ซึ่งจะทำงานตามบล็อกคำสั่งที่ต่อลงไปทางด้านล่างภายในบล็อกเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่นในภาพ 11 แสดงให้เห็นถึงเหตุการณ์เมื่อมีการคลิกปุ่มแล้วให้มีการแสดงหน้าต่างข้อความโต้ตอบขึ้นมาเพื่อเตือนให้ผู้ใช้ทำการป้อนข้อมูลลงในกล่องข้อความ เป็นต้น
ภาพ 11 ตัวอย่างของบล็อกคำสั่งประเภทเหตุการณ์ (event handler)
4) การเรียกใช้กระบวนการทำงาน (method call) บล็อกประเภทเรียกใช้กระบวนการทำงานจะมีลักษณะเหมือนกับบล็อกประเภทที่ใช้เรียกค่าคุณสมบัติจากคอมโพเนนท์ที่มีลักษณะเป็นช่องต่ออยู่ทางด้านซ้าย บล็อกประเภทนี้จะถูกสร้างขึ้นเมื่อผู้ใช้ได้มีการสร้างกระบวนการทำงานโดยอาศัยบล็อกประเภทกระบวนการทำงานในการสร้างดังภาพ 12 เช่น การสร้างฟังก์ชันการทำงาน การสร้างตัวแปร เป็นต้น และจะมีชื่อเรียกเฉพาะตัวตามที่ผู้ใช้เป็นผู้ตั้งให้ เมื่อมีการสร้างกระบวนการทำงานขึ้น บล็อกประเภทเรียกใช้กระบวนการทำงานก็จะถูกสร้างขึ้นและปรากฏในตัวเลือกเพื่อให้ผู้ใช้เลือกที่มาวางลงในโปรเจคเมื่อต้องการให้เกิดการเรียนใช้กระบวนการทำงานดังกล่าว
ภาพ 12 ตัวอย่างของบล็อกคำสั่งประเภทกระบวนการทำงาน
1.1.3 ส่วนของการแพ็คเกจและการเรียกใช้งานแอพพลิเคชัน
เมื่อแอพพลิเคชันได้ถูกออกแบบและทำการเขียนโค้ดคำสั่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้สามารถสั่งให้โปรแกรม App Inventor ทำการแพ็คเกจแอพพลิเคชันดังกล่าวให้อยู่รูปของไฟล์ที่พร้อมจะนำไปติดตั้งเพื่อนำไปติดตั้งบนโทรศัพท์ระบบปฏิบัติการ Android ต่อไป ผู้ใช้เพียงเลือกคลิกที่ปุ่ม Package for Phone ที่อยู่ในด้านบนของหน้าจอส่วนออกแบบ โปรแกรม App Inventor จะทำการแพ็คเกจบนเซิร์ฟเวอร์ App Inventor และส่งไฟล์ที่พร้อมจะนำไปติดตั้งออกมาให้ผู้ใช้ทำการดาวน์โหลดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อจะนำไปติดตั้งและเรียกใช้งานบนโทรศัพท์ระบบปฏิบัติการ Android เครื่องใดก็ได้ หรือหากไม่มีโทรศัพท์ระบบปฏิบัติการ Android ก็สามารถที่จะทดสอบการทำงานของแอพพลิเคชันได้บนโทรศัพท์จำลองที่ทำงานอยู่บนคอมพิวเตอร์ซึ่งจะมีลักษณะการทำงานเหมือนโทรศัพท์จริงทุกประการดังภาพ 13
ภาพ 13 โทรศัพท์จำลองระบบปฏิบัติการ Android
อ้างอิงจาก: http://programmingappinventor.wordpress.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-app-inventor/%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1-app-inventor/
วิธีการสร้างappinventor 1
ส่วนประกอบของโปรแกรม App Inventor
โปรแกรม App Inventor ช่วยให้สามารถพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับโทรศัพท์ระบบปฏิบัติการ Android ซึ่งทำผ่านการใช้เว็บเบราเซอร์และทดสอบบนโทรศัพท์ที่เชื่อมต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์หรือทดสอบบนโทรศัพท์จำลองบนเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรเจคที่สร้างทั้งหมดจะถูกจัดเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ App Inventor ซึ่งช่วยให้สามารถพัฒนางานต่อที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ เพียงแค่ได้มีการเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตไว้เท่านั้น
การสร้างแอพพลิเคชันจะแบ่งการทำงานออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนออกแบบ (App Inventor Designer) ที่จะให้เราเลือกคอมโพเนนท์ที่ต้องการสำหรับที่จะให้สร้างแอพพลิเคชัน ส่วนที่สองเป็นส่วนการเขียนโค้ด (App Inventor Blocks Editor) ที่ให้เราเขียนโค้ดด้วยการต่อบล๊อกต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นคำสั่ง ซึ่งจะเป็นการกำหนดพฤติกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับคอมโพเนนท์ การเขียนโปรแกรมจะเสมือนการต่อชิ้นส่วนตัวต่อจิ๊กซอว์เข้าด้วยกัน ในแต่ละขั้นตอนการสร้างจะสามารถทำการทดสอบได้ทุกขณะ และเมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วจะสามารถแพ็คเกจแอพพลิเคชันเพื่อนำไปใช้งานบนโทรศัพท์ระบบปฏิบัติการ Android เครื่องใดก็ได้ หรือหากไม่มีโทรศัพท์ระบบปฏิบัติการ Android ก็สามารถที่จะทดสอบได้บนโทรศัพท์จำลองที่ทำงานอยู่บนคอมพิวเตอร์ซึ่งจะมีลักษณะการทำงานเหมือนโทรศัพท์จริงทุกประการ สภาพแวดล้อมในการพัฒนาด้วยโปรแกรม App Inventor นั้น สนับสนุนระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการ Mac OS X, GNU / Linux และระบบปฏิบัติการ Windows และแอพพลิเคชันที่สร้างขึ้นนั้นสามารถติดตั้งและทำงานได้บนโทรศัพท์ระบบปฏิบัติการ Android หลากหลายรุ่นที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
ภาพ 1 แอพพลิเคชันที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรม App Inventor ในหน้าต่างเว็บเบราเซอร์
1.1.1 ส่วนออกแบบ (App Inventor Designer)
ในขั้นตอนแรกของการสร้างแอพพลิเคชันด้วย App Inventor เริ่มจากการเลือกคอมโพเนนท์ที่ต้องการและจัดวางลงในส่วนของการออกแบบโดยจะทำผ่านส่วนของการออกแบบ (App Inventor Designer) ดังที่แสดงในภาพที่ 1 แสดงให้เห็นถึงแอพพลิเคชันที่สร้างขึ้นในหน้าต่างเว็บเบราเซอร์ โดยด้านซ้ายจะเป็นส่วนของคอมโพเนนท์ที่ App Inventor เตรียมไว้ให้จัดเรียงเป็นหมวดหมู่ เช่น ปุ่ม (button) ข้อความ (label) กล่องข้อความ (text box) เป็นต้น ผู้ใช้ทำการเพิ่มคอมโพเนนท์ที่เลือกด้วยการคลิกลากลงไปวางไว้ในโปรเจค
ภาพ 2 หน้าจอการจัดการโปรเจค (My Projects)
อินเตอร์เฟสบนหน้าเว็บ App Inventor นั้นจะประกอบด้วยแท็บที่จะปรากฏในส่วนบนของหน้าเว็บซึ่งจะใช้ในการเข้าไปจัดการโปรเจค (My Projects) ส่วนการออกแบบ (Design) ส่วนการเรียนรู้คำสั่ง (Learn) ในหน้าจอการจัดการโปรเจคดังภาพ 2 จะสามารถเข้าไปจัดการสร้าง ลบ ดาวน์โหลด หรือเลือกโปรเจคที่สร้างและได้ทำการบันทึกไว้เพื่อกลับมาแก้ไขในหน้าจอส่วนการออกแบบได้
ภาพ 3 หน้าจอส่วนคอมโพเนนท์ที่มีให้เลือก
ภาพ 4 หน้าจอการออกแบบ (Viewer)
ในส่วนหน้าจอการออกแบบ ปุ่มที่อยู่ทางด้านบนจะใช้เพื่อการบันทึกโปรเจคในลักษณะต่างๆ การเพิ่มและลบหน้าจอ Screen ปุ่มสำหรับการเปิดส่วนการเขียนโค้ด (Open the Blocks Editor) และการจัดแพ็คเกจแอพพลิเคชันเพื่อนำไปใช้งานบนโทรศัพท์ระบบปฏิบัติการ Android ต่อไป ในการสร้างแอพพลิเคชันที่หน้าจอส่วนการออกแบบนี้ ผู้ใช้จะเลือกคอมโพเนนท์ที่อยู่ทางด้านซ้ายของหน้าจอดังภาพ 3 คลิกลากเพื่อนำมาวางลงในส่วน Viewer ที่อยู่ตรงกลางหน้าจอดังภาพ 4 หลังจากนั้นคอมโพเนนท์ที่เลือกนำมาวางจะปรากฏในส่วน Viewer ตามมุมมองของผู้ใช้ซึ่งสามารถเลือกจัดวางลงในตำแหน่งที่เหมาะสมได้ตามต้องการ และคอมโพเนนท์นั้นยังปรากฏในส่วนรายการคอนโพเนนท์ (Components) ดังภาพ 5 เรียงกันเป็นรายการเพื่อให้ดูง่ายและสามารถเลือกคอมโพเนนท์ที่ต้องการกำหนดคุณสมบัติจากรายการนี้แล้วกำหนดคุณสมบัติต่างๆ ที่หน้าจอส่วนคุณสมบัติ (Properties) ดังภาพ 6 ซึ่งจะเป็นคุณสมบัติเฉพาะของคอมโพเนนท์นั้นๆ
ภาพ 5 หน้าจอส่วนคอมโพเนนท์ (Components) ที่เลือกนำมาใช้ในโปรเจค
ภาพ 6 หน้าจอส่วนคุณสมบัติของคอมโพเนนท์ (Properties)
นอกจากในกลุ่มของคอมโพเนนท์ทั่วไปแล้วยังมีคอมโพเนนท์ที่มองไม่เห็น (Non-Visible Components) ซึ่งเมื่อนำมาวางในหน้าจอ Viewer แล้วจะไม่ปรากฎคอมโพเนนท์ดังกล่าวที่หน้าจอ Viewer แต่จะปรากฏที่หน้าจอรายการคอมโพเนนท์แทน คอมโพเนนท์ที่มองไม่เห็นนี้จะประกอบไปด้วยคอมโพเนนท์ในกลุ่ม Sersors ซึ่งประกอบไปด้วยคอมโพเนนท์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียกใช้ตัวตรวจจับต่างๆ ที่มีอยู่ในโทรศัพท์ เช่น ระบบ GPS หรือ Accelerometers เป็นต้น กลุ่ม Notifiers ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสามารถในการแจ้งเตือนต่างๆ หรือการเขียนบันทึกกิจกรรมของโทรศัพท์ ซึ่งคอมโพเนนท์ในกลุ่ม Notifiers นั้นจะมองไม่เห็นหรือถูกซ่อนไว้ แต่จะสามารถมองเห็นได้เมื่อเกิดการแจ้งเตือนหรือสอบถามโดยมีการโต้ตอบกับผู้ใช้ในรูปของข้อความ เสียง ปุ่ม หรือช่องสำหรับกรอกข้อมูล ที่จะแสดงให้ผู้ใช้เห็นเป็นครั้งคราวเท่านั้น กลุ่ม Clocks ซึ่งเกี่ยวข้องกับฟังก์ชันของเวลา ตัวจับเวลา และการตั้งค่าเวลา กลุ่ม ActivityStarters ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสั่งให้แอพพลิเคชั่นอื่นที่ติดตั้งอยู่ในโทรศัพท์ทำงาน เช่น โปรแกรมอ่านบาร์โค้ด (barcode scanner) หรือโปรแกรมอ่านออกเสียงจากข้อความ (text to speech) เป็นต้น กลุ่ม Web Services เช่น คอมโพเนนท์เกี่ยวกับเกมส์ออนไลน์ (Game Client) คอมโพเนนท์เกี่ยวกับฐานข้อมูลบนเว็บ และคอมโพเนนท์เกี่ยวกับการใช้บริการ Twitter เป็นต้น
อ้างอิงจาก: http://programmingappinventor.wordpress.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-app-inventor/%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1-app-inventor/
การออกแบบและสร้างแอพพลิชั่นบนระบบปฏิบัิติการAndroid ด้วย appinventor
เริ่มต้นการใช้งาน app inventor
ในปัจจุบันโทรศัพท์เคลื่อนที่และแท็บเลตระบบปฏิบัติกรแอนดรอยด์นั้นมีจำนวนมาก หลายหลายรุ่น หลายยี่ห้อ ให้เลือกใช้งาน และคาดว่าในอนาคตจะมีการใช้งานกันมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผลให้นักพัฒนาแอพพลิเคชั่นจำเป็นต้องพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ แต่เนื่องจากแอพพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์นั้นถูกพัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรมภาษาจาวา ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นมือใหม่ ที่อยากจะเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของการเขียนโปรแกรม App Inventor เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ซึ่งถูกออกแบบและพัฒนาโดยเริ่มต้นจากทีมงานของกูกเกิล และปัจจุบันอยู่ในการควบคุมดูแลของสถาบัน MIT (Massachusetts Institute of Technology) AppInventor ออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน โดยอาศัยหลักการทำงานผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตเป็นหลัก ซึ่งใช้เว็บบราวเซอร์ในการทำงานร่วมกับเว็บเซิฟเวอร์ แอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาจะถูกจัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์ ซึ่งเวลาที่เราเรียกใช้งาน จะต้องเข้าไปที่เว็บไซด์ appinventor.mit.edu/ เพื่อที่จะนำแอพพลิเคชั่นที่สร้างขึ้นมาแก้ไข และพัฒนาต่อได้ ถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือรูปแบบใหม่ ที่น่าสนใจ และใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นขั้นสูงต่อไป
การตั้งค่าและการติดตั้งโปรแกรมเพื่อใช้งาน AppInventor
ก่อนอื่นให้เราเข้าไปที่ http://www.appinventor.mit.edu/ เป็นเว็บไซด์หลักในการเข้าใช้งานโปรแกรม และดาวน์โหลดโปรแกรมสำหรับติดตั้งลงบนคอมพิวเตอร์
เราสามารถเข้าไปดาวน์โหลดไฟล์โปรแกรมได้ฟรี โดยคลิกไปที่ Explore http://explore.appinventor.mit.edu/learn
อ้างอิงจาก: http://appinventor-micro2bot.blogspot.com/2012/09/app-inventor.html
การจำลองการทำงานArduino แบบกราฟฟิค ด้วยโปรแกรมVirtualbreadoard
VIRTUAL BREADBOARD บอร์ดทดลองอิเล็กทรอนิกส์จำลอง
ในเรื่องของไมโครคอนโทรลเลอร์ หรืองาน Embedded System การได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมเพื่อ โปรแกรมลงบนตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ เป็นสิ่งที่ยากไม่แพ้กันกับ การที่ต้องต่อวงจร หรือทดลองฮาร์ดแวร์ เพื่อดูว่าโค๊ดที่เราได้เขียนมานั้น สามารถทำงานได้ตามที่เราต้องการหรือไม่
การได้เรียนรู้ทั้งสองอย่างไปพร้อมๆกัน เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องทำ และได้เรียนรู้ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะ ความเข้าใจ การทดสอบการเขียนโปรแกรม หรือเขียนโค๊ด ขอเพียงเรามีแค่่คอมพิวเตอร์ และ IDE ที่เอาไว้พัฒนาโปรแกรมก็สามารถที่จะทำงานด้านนี้ได้แล้ว แต่ในส่วนของฮาร์ดแวร์ ที่จะทดลอง simulate โค๊ดที่เราเขียน บางครั้งกลับกลายเป็นอุปสรรคสำหรับคนที่ไม่มีโอกาสในการเข้าถึงฮาร์ดแวร์ เหล่านั้น วันนี้ผมขอนำเสนอโปรแกรมที่ช่วยจำลองการทำงานของฮาร์ดแวร์ในส่วนนั้น ด้วยโปรแกรม VIRTUAL BREADBOARD
โปรแกรม VIRTUAL BREADBOARD เป็นโปรแกรมที่ออกมาให้ทำหน้าที่เป็นตัวที่แสดงผลการทำงานของโค๊ดที่เราเขียนขึ้นมา และสร้างสภาวะแวดล้อมของงานด้าน Embedded System โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์จำลอง
โปรแกรม VIRTUAL BREADBOARD หรือ VBB มีเบอร์ของไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC16 และ PIC18 ให้เราเลือกอย่างหลากหลาย ซึ่งตอนนี้โปรแกรมนี้สามารถจำลองการทำงานของบอร์ด Arduino ได้แล้ว นอกจาก MCU หลักๆ แล้ว ยังมี อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น LCD , Servo Motor หรือวงจรอื่นๆ อีกมากมาย
http://www.virtualbreadboard.com/home.htm
http://www.youtube.com/watch?v=hSKoxN9n6js
อ้างอิง http://www.123microcontroller.com/Software-Tools/Virtual-Breadboard-program-simulation-microcontroller
ทรานซิสเตอร์คืออะไร หลอสูญญากาศคืออะไร นำไปใช้งานอะไร
วิวัฒนาการการพัฒนาสารกึ่งตัวนำที่เรียกว่าทรานซิสเตอร์ พัฒนาโครงสร้างตั้งแต่เป็นหลอดสูญญากาศ ตัวถังT0-90 T0-92 จนเป็นอุปกรณ์ SMD และแผงวงจรรวมแบบ IC
วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ข้อมูลวงจรRc อินดิเกรเตอร์และRc ดีเฟอเร็นเซียล
หาข้อมูลได้จากลิงค์
http://9nop.blogspot.com/2012/06/rc.html
http://www.innocent.net63.net/page6.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)